Nine Most Visited Temples in Udon Thani
Tourism in Udon Thani primarily consists of Thai citizens coming from all other parts of Thailand to visit and worship at one or more of the area’s hundreds of temples.
Here’s a list of the nine most visited temples, which we will also break into several more detailed articles later.
WAT PA KAM CHANOT (วัดป่าคำชะโนด)
Wat Kam Chanot, Wat Siriuttho, or Wat Pa Kam Chanot is located in 3 sub-districts, which are Wang Thong, Ban Muang, and Ban Chan sub-districts in Ban Dung district, Udon Thani Province. It is a forest that has a characteristic that can be described as an island in the middle of a grass field, where under this forest, there aren’t any land, but only water. The forest is filled with trees stretching up to 20 rai, whereas the different types of trees that can be found in this forest includes palm trees and sugar palm trees (Asian Palmyra Palm). These trees grow up to an average length of 200 meters and are considered rare because they are only found in Kam Chanot district. Pa Kam Chanot is a location that appears in folk legends and is believed that serpents and different mystical creatures resides. Often, the villagers in the neighborhood would see the people from Chanot performing a religious ceremony to honor Vessantara, as well as seeing a woman that would always come to the village to borrow weaving tools.
Wat Pa Kam Chanot used to be a peaceful tourist destination filled with thousands of trees, as well as, a sacred land that many respected. The weather around the area of the temple is cool and would give one a sense of peacefulness. It is similar to a floating island because when its the rainny season, the water around the forest would start to flood every year. As the water rises, Kam Chanot would also rise and as the water falls, Kam Chanot would also fall.
แต่ทว่าแท้ที่จริงแล้ว ป่าคำชะโนดก็เคยเกิดน้ำท่วม เมื่อปี พ.ศ. 2516, พ.ศ.2538, พ.ศ. 2559 และพ.ศ. 2560 ทั้งนี้เชื่อว่าเกิดจากการที่มีการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิมในอดีตและการที่มีประชาชนเข้ามาในบริเวณป่ากันอย่างล้นหลามตลอดเวลา เป็นเหตุให้ต้นชะโนดถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้พื้นที่ของเกาะซึ่งลอยน้ำอยู่นั้นมีความหนักและรากของต้นไม้ที่คอยโอบอุ้มเกาะถูกซัดหายไป จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องจมน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางปี พ.ศ. 2560 ถึงกับต้องปิดสถานที่แห่งนี้เป็นการชั่วคราว
ภายในบริเวณวัดมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ปล่องพญานาค” เคยมีคนนำไม้ไผ่ลำยาวๆ 3 ต้นมาต่อกัน แล้วหยั่งลงไป ปรากฏว่ายังไม่ถึงพื้น ราวกับบ่อนี้มีความลึกที่ไม่สิ้นสุด แต่แปลกที่ว่าเมื่อโยนเหรียญลงไป จะมองเห็นเหรียญได้หมด น้ำใสมากจนชาวบ้านมีความเชื่อว่า พญานาค ได้ใช้ปล่องนี้เป็นสถานที่เข้า–ออกจากเมืองบาดาลสู่โลกมนุษย์
หลากหลายเหตุการ์ที่เน้นย้ำถึงปาฏิหาริย์และเพิ่มแรงศรัทธา โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่มีผู้มากราบไหว้ขอพรสักการะ ขอโชคลาภจากพ่อปู่ศรีสุทโธนาคา และแม่ย่าปทุมมานาคี หลายต่อหลายคนที่ได้รับโชคลาภใหญ่ด้วยการถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลติดต่อกัน แต่ละคนต่างยืนยันว่าได้รับโชคหลังจากกลับจากสักการะหลวงปู่ศรีสุทโธ ณ.วัดคำชะโนด นี่จึงเป็นเหตุให้ประชาชนจากทุกจังหวัด แห่กันมาขอพร ขอโชคลาภกันอย่างล้นหลาม
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปที่วัดคำชะโนดหรือวัดต่างๆในอุดรธานี กรุณาติดต่อ เดอะ แกลเลอรี เกสท์เฮ้าส์
WAT PHO THI SOMPON (วัดโพธิสมภรณ์ พระอารามหลวง)
วัด โพธิสมภรณ์ ตั้งอยู่บนถนนเพาะนิยม เลขที่ 22 ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี อยู่ทางทิศตะวันตกของหนองประจักษ์ มีเนื้อที่ 40 ไร่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2449 ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งรัตนโกสินทร์ โดยมหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร
ในระยะแรกชาวบ้านเรียกว่า “วัดใหม่”เพราะ แต่เดิมมีเพียงวัดมัชฌิมาวาส ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “วัดเก่า” ด้วยพบร่องรอยเป็นวัดร้างมาก่อน มีเจดีย์ศิลาแลงเก่าแก่และพระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก และได้กราบอาราธนา พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู) เจ้าคณะเมืองอุดรธานี จากวัดมัชฌิมาวาสมาเป็นเจ้าอาวาสวัด ต่อมาพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) ได้นำความขึ้นกราบทูลขอชื่อต่อ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ ได้ทรงประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์” เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แด่ พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) ผู้สร้างวัดนี้โดยมีเจ้าอาวาสตามลำดับต่อไปนี้
รูปที่ 1 พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู) พ.ศ. 2450-2465
รูปที่ 2 พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) พ.ศ. 2466-2505
รูปที่ 3 พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) พ.ศ. 2505 – ปัจจุบัน
ภายในวัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญอยู่ 5 อย่าง
1. “พระพุทธรัศมี” พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย อายุประมาณ 600 ปี
2. พระพุทธรูปศิลาแลง ปางประธานพร สมัยลพบุรี อายุประมาณ 1,300 ปี ประดิษฐานไว้ที่ซุ้มฝาผนังพระอุโบสถด้านหลัง
3. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้หน่อมาจากรัฐบาลประเทศศรีลังกา ที่มอบแก่รัฐบาลไทย พ.ศ. 2493 นำมาปลูกไว้ด้านทิศเหนือพระอุโบสถ
4. รอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างด้วยศิลาแลง มีอายุ 200 ปีเศษ ประดิษฐานไว้ในมณฑป ด้านทิศเหนือพระอุโบสถ
5. พระบรมธาตุธรรมเจดีย์ เป็นเจดีย์พิพิธภัณฑ์ 3 ชั้น บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป พระไตรปิฎก คติธรรมคำสอน อัฐิธาตุพระอรหันตสาวก และรูปเหมือนพระบูรพาจารย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2549
WAT MATCHIMAWAT – วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง
วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง ตั้งอยู่ในตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี มีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออกติดกับถนนหมากแข้งและถนนดุษฎี ด้านทิศใต้ติดกับถนนวัฒนา ด้านทิศเหนือติดกับถนนโพนพิสัย ก่อนจะมาเป็นวัด มัชฌิมาวาส วัดนี้เคยเป็นวัดร้างมาก่อน ชื่อว่าวัดโนนหมากแข้งแต่หลักฐานที่พอให้ทราบได้ว่าเป็นวัดร้างนั้น ก็มีอยู่ 2 อย่าง คือเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่โนน (เนิน) ประชาชนเล่าสืบกันมาว่าเจดีย์นั้นได้ครอบ หรือคร่อมตอหมากแข้งขนาดใหญ่ และมีพระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรกอยู่ภายในเจดีย์ ปัจจุบันถูกเรียกว่าหลวงปู่นาค ก็ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่หน้าพระอุโบสถ ให้ชาวจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงได้สักการะบูชากันมาจนถึงทุกวันนี้ และกลายเป็นพระพุทธรูปที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์คู่วัดมัชฌิมาวาสตลอดมา ประชาชนที่เคารพศรัทธา สามารถนำทองคำเปลวปิดถวายเพื่อเป็นการสักการะบูชาได้สะดวกขึ้น หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก วัสดุหินขาว พอกปูนทับองค์เดิม ขนาดหน้าตักกว้าง 104 เซนติ เมตร สูง 260 เซนติเมตร (เฉพาะองค์พระสูง 149 เซนติเมตร) ศิลปะรัตนโกสินทร์นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองของจังหวัดอุดรธานี ประดิษฐานที่มุขด้าน หน้าอุโบสถ วัดมัชฌิมาวาส
######
WAT BPA BPU GON – วัดป่าภูก้อน
ภูก้อนเป็นชื่อภูเขาลูกหนึ่งอยู่ในท้องที่บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง กิ่งอำเภอนกยูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี เป็นภูเขาใหญ่ สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 830 เมตร สูงกว่าภูเขาลูกอื่น ๆ มีพื้นที่ 1,000ไร่ (กว้าง 1,000 เมตร ยาว 1,625 เมตร) และได้ขนานนามว่า พุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน ในแถบนั้น มีภูเขาลูกเล็กๆติดกันอยู่ โดยรอบบริเวณเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ อากาศชุ่มชื้นมีหมอกปกคลุม เป็นต้นน้ำลำธารที่มีน้ำไหลตลอดปี เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า โดยที่วัดนี้ เกิดจากความดำริของพุทธบริษัท ผู้ตระหนักถึงคุณค่าอันยิ่งใหญ่ และความสำคัญของป่าไม้ธรรมชาติที่เหลือน้อยลงทุกวัน โดยมุ่งดำเนินตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ตลอดจนสัตว์ป่า และพรรณไม้นานาพันธุ์ เพื่อให้เป็นมรดกของลูกหลานไทยคู่กับแผ่นดินไทย พร้อมทั้งเพื่อจรรโลงส่งเสริมพระบวรพุทธศาสนา ใฝ่เจริญมั่งคงคู่แผ่นดินไทยตราบชั่วกาลนาน ภายใต้การดูแลของ พระครูจิตตภาวนาญาณ (ชาลี ถิรธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดป่าภูก้อน เจ้าคณะอำเภอนายูง เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปหินอ่อนขาว ปางปรินิพพาน ซึ่งแกะสลักด้วยหินอ่อนไวท์คาร์ราร่า นำเข้าจากอิตาลี ความยาว 20 เมตร มีพระมหาวิหาร กว้าง 39 เมตร ยาว 49 เมตร เป็นวัดที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี
########
วัดถ้ำกองเพล
วัดถ้ำกลองเพล เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดหนองบัวลำภู ตั้งอยู่เชิงเขาภูพาน ในบริเวณวัดมีบรรยากาศที่ร่มรื่นและเงียบสงบ มีถ้ำซึ่งมีกลองโบราณสองหน้า มีพระพุทธรูปปางลีลาจำหลักในก้อนหิน วัดแห่งนี้เคยเป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐานของพระอาจารย์หลวงปู่ขาว อนาลโย พระวิปัสสนาสายพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ
กุฏิเก่าของหลวงปู่ขาว เป็นเรือนไม้หลังเล็กๆ ตั้งอยู่กลางดงไม้ บรรยากาศร่มรื่น ส่วนกุฏิใหม่สร้างเป็นเรือนทรงไทยทันสมัยหลังใหญ่ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว ตัวอาคารสร้างขึ้นในรูปทรงของก้อนหินเรียงกัน 3 ก้อน เพื่อให้เข้ากับภูมิประเทศของวัดถ้ำกลองเพล ซึ่งเต็มไปด้วยสวนหิน รอบ ๆ บริเวณตกแต่งด้วยไม้ดอกและสนามหญ้าสีเขียวขจี ภายในพิพิธภัณฑ์มีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ประดิษฐานอยู่ในท่านั่ง ห้องข้างๆ ยังมีเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ขาวตั้งแสดงไว้ด้วย เพื่อเป็นที่สักการะของประชาชนทั่วไป
เจดีย์หลวงปู่ขาว เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อใช้บรรจุอัฐิหลวงปู่ขาว สร้างอยู่บนลานหินมีบันไดเป็นทางเดินขึ้นไปสู่องค์เจดีย์
มณฑปหลวงปู่ขาว เป็นมณฑปจตุรมุขที่หลวงปู่ขาวสร้างไว้ครั้งยังมีชีวิตอยู่เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีสังฆกรรม รอบ ๆ บริเวณ เงียบสงบและร่มรื่น
วัดถ้ำกลองเพลอยู่ในเขต อำเภอเมืองหนองบัวลำภู บนทางหลวงหมายเลข 210 เส้นทาง อุดรธานี – หนองบัวลำภู ออกจากตัวเมืองไปทางอุดรธานี 13 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร
###
วัดพระพุทธบาทบัวบก
วัดพระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่กลางเทือกเขาภูพระบาท บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จากตัวอำเภอบ้านผือ เป็นถนนลาดยางระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่มีตำนานเล่าขานว่า ราวปี 2460 พระสงฆ์รูปหนึ่งได้เกิดนิมิตรอัศจรรย์เห็นพระบรมสารีริกธาตุสีขาวในอุโมงค์ ในพื้นที่วัดจึงชักชวนชาวบ้านรื้ออุโมงค์นั้นออก แล้วสร้างเจดีย์ครอบไว้แทนพระบรมสารีริกธาตุ มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันน่าอัศจรรย์ทั้งก้อนหินธรรมชาติ สรรสร้างประหนึ่งศิลปินนำมาจัดวางเป็นงานศิลปะ อีกทั้งถ้ำพญานาคซึ่งเล่าขานแต่อดีตว่าทางเดินภายในสามารถทะลุไปถึงแม่น้ำโขง พุทธศาสนิกชนชาวไทย ลาว สองฝั่งโขงต่างเดินทางมาสักการะด้วยความเลื่อมใสศรัทธาสืบมาจนถึงปัจจุบัน วัดพระพุทธบาทบัวบกยังเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม หลบหนีความวุ่นวายจากสถานการณ์บ้านเมืองได้
พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า “บัวบก” เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า “พระพุทธบาทบัวบก” หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
###
วัดป่าบ้านค้อ
วัดบ้านค้อ หรือวัดป่าบ้านค้อ ตั้งอยู่บ้านค้อ ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของ “พระอาจารย์ทูล ขิบปปญโญ” (ปัจจุบันมรณภาพแล้วเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2551 ) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2528 มีเนื้อที่ 410 ไร่
ภายในวัดประดิษฐานพระมหาธาตุเจดีย์ เฉลิมบารมีพระนวมินทร์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ภายในพระมหาธาตุเจดีย์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา แกะสลักเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ชาดก และพุทธประวัติ วัดนี้เหมาะสำหรับผู้รักการปฏิบัติธรรม เพราะเป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และเป็นวัดต้นแบบเข้าร่วมโครงการวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ เข้าวัดปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกุศลในวันอาทิตย์
จังหวัดอุดรธานี กำหนดให้วัดป่าบ้านค้อเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดอุดรธานี และได้เคยจัดให้มีการบรรพชาอุปสมบทอบรมกลุ่มปฏิบัติธรรมแก่นักเรียนและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังมีฆราวาสทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าพักรับอุบายธรรมภาคปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ การเดินทางไปยังวัดป่าบ้านค้อ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี – หนองคาย) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 2021 (สายอุดร – บ้านผือ) อีก 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดป่าบ้านค้ออีก 3 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอุดรธานี ประมาณ 36 กิโลเมตร หมายเลขโทรศัพท์ 0-4225-0730 โทรสาร 0-4225-0731
###
วัดป่านาคำน้อย
วัดนาคำน้อย (วัดป่านาคำน้อย)เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในบ้านนาคำน้อย หมู่ 7 บ้านนาคำน้อย ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี เป็นวัดที่อยู่ในธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้นานาชนิด มีสัตว์ป่ามากมาย บริเวณวัดเป็นแหล่งปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก เจ้าอาวาส ศิษย์เอกของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ วัดป่านาคำน้อย เป็นวัดป่าสายธรรมยุต แยกออกมาจากวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เมื่อหลายปีที่ผ่านมา มีญาติโยมผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและมีกำลังศรัทธามาร่วมทำบุญ โดยมีพระสายวัดป่าที่มีแนวทางปฏิบัติตามคำสอนของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาจำพรรษาเป็นจำนวนมาก ในถิ่นทุรกันดารการออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนเทือกเขา ลำบากมาก ปัจจุบันบริเวณภายในวัดมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้นานาชนิด เหมาะแก่การภาวนาเป็นอย่างยิ่ง …
###
วัดนาหลวง
วัดนาหลวง หรือวัดภูย่าอู่ (อภิญญาเทสิตธรรม) ตั้งอยู่บนยอดเขาภูย่าอู่ใกล้หมู่บ้านนาหลวง อยู่ในเขตตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 46 กิโลเมตร ปัจจุบันสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี ได้ประกาศแต่งตั้งวัดนาหลวง ให้เป็นสำนักวิปัสสนาธุระประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นวัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานของจังหวัดซึ่งหลังจากออกพรรษาแล้ว ก็จะมีหน่วยงานราชการ องค์กรและกลุ่มต่างๆ รวมทั้งนักเรียนนิสิตนักศึกษา ที่สนใจในการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานเข้ามาขอรับการอบรม เพื่อเรียนรู้และเข้าถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาตลอดจนการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความสงบสว่างในจิตใจ มีสติสัมปชัญญะ ซึ่งหลวงปู่พระราชสิทธาจารย์ประธานสงฆ์ ให้เมตตาต่อผู้เข้ารับการอบรมและฝึกปฏิบัติ มีพระครูภาวนาธรรมาภินันทเป็นเจ้าอาวาส โดยมีพระราชสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร) พระสุปฏิปันโนอีกรูปหนึ่งเป็นประธานสงฆ์ และตลอดเวลาที่เข้ารับการอบรม จะมีพระครู และพระพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำและเอาใจใส่ด้วยความเมตตา ปัจจุบันมีภิกษุอยู่จำพรรษา 111 รูป เณร 1 รูป
###
วัดโพธิ์ชัยศรี
วัดโพธิ์ชัยศรี ตั้งอยู่ที่บ้านแวง ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ห่างจากอำเภอบ้านผือไปตามถนนสายอำเภอน้ำโสมประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งวัด โพธิ์ชียศรี ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวอุดรธานีนามว่า “หลวงพ่อนาค” หลวงพ่อนาคเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกทำด้วยทองสำริดมีจารึกด้วยอักษรธรรมอีสานโบราณ พุทธลักษณะสวยงาม พระพักตร์เปี่ยมด้วยความเมตตา มีคำเล่าลือสืบกันมาแต่โบราณว่า ภายในองค์พระประดิษฐานพระธาตุอรหันต์ตรงส่วนพระอุระ ชาวบ้านแวงและชาวอุดร ต่างเลื่อมใสศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อนาคว่า ได้ปกป้องคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข
###
วัดป่านาคูณ
วัดป่านาคูณ ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 บ้านนาคูณ ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160
โดยมีหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ วัดป่านาคูณ เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นเจ้าอาวาส
การเดินทาง : จากจังหวัดอุดรธานี มุ่งหน้าไปทางจังหวัดหนองคาย เมื่อผ่านทางข้ามรถไฟ ให้เลี้ยวซ้ายไปบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ เมื่อผ่านตลาดบ้านผือ ให้เลี้ยวขวาตรงไป ผ่านสี่แยกโรงพยายาบาลบ้านผือ จะมีป้ายบอกทาง อีกประมาณ 8 กิโลเมตรก็จะถึงวัดป่านาคูณ
Join our Private Facebook Group! Meet ex-pats and make new friends, share advice, promote business, travel tips & events, share experiences and ideas.